“ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” จับมือ “บจ.อัคราเดียน” MOU ร่วมวิจัย-ต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาระบบการจัดการพลังงานยกเป็นต้นแบบถ่ายทอดเทคโนโลยีหนุนขับเคลื่อนไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050

วันนี้ (5 มิ..2568)เวลา 14.00มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและบริษัท อัคราเดียน จำกัด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน ที่คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ดร.ก้องกาญจน์ วชิรพนัง รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล พร้อมด้วย ผศ.ดร.กูสกานา กูบาฮา คณบดีคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ รศ. ดร.อดิศักดิ์ นาถกรณกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ดร.รุ่งโรจน์ สงค์ประกอบ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ผศ.ดร.พัฒนะ รักความสุข รองคณบดีอาวุโสฝ่ายวิจัย คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ  และดร.ปรีชา อาการศ  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ขณะที่ภาคเอกชน นำโดย คุณรัตนดา ถนอมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัคราเดียน จำกัด คุณรัชชา สุขชม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ลาร์ซ แอนด์ ลอเร็ล จำกัด  คุณนัธที วงศ์พยัคฆ์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท อัคราเดียน จำกัด และคุณพรทิพย์ ลิมปิชัยโสภณ ผู้ประสานงานโครงการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการพลังงานในครั้งนี้ 

ผศ.ดร.กูสกานา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา เมื่อมาประกอบกับทางอัคราเดียนที่มีความเชี่ยวชาญและเข้มแข็งด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับแบตเตอรี่ พลังงานรถยนต์ไฟฟ้า ที่เกี่ยวข้อง เมื่อมาร่วมมือกันจะเกิดการพัฒนาและตอบโจทย์ประเทศไทยในขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ให้ได้ตามเป้าหมาย 

ดร.ก้องกาญจน์ กล่าวว่า ถือเป็นเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่ได้ทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนมา อย่างยาวนาน เพื่อให้องค์ความรู้สามารถนำไปใช้งานได้จริง สามารถสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรม และสังคมประเทศได้  โดยไม่ใช่แค่การวิจัยเท่านั้นแต่ควบคู่กับการพัฒนากำลังคน พัฒนาองค์ความรู้สร้างคุณค่าและโอกาสใหม่ๆให้กับประเทศ ซึ่งความร่วมมือกับภาคเอกชนในวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากของประเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมเปิดรับทุกความร่วมมือในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะการให้น้ำหนักเรื่องการพัฒนากำลังคนในภาคอุตสาหกรรม พร้อมเปิดรับทุกหน่วยงานองค์กรและภาคเอกชน เข้ามาร่วมมือกัน

ด้านคุณรัตนดา ระบุว่า  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีความโดดเด่นด้านการขับเคลื่อนให้ไทยเป็นประเทศที่มีคาร์บอนต่ำ ทางบริษัท อัคราเดียนเองมีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า Energy Management ซึ่งการจะทำให้พลังงานหมุนเวียนที่ถือเป็นกุญแจสำคัญนั้นมีเสถียรภาพ ต้องใช้ระบบ Battery Energy Storage System ซึ่งมีการทำงานร่วมกันกับบริษัทระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้   โดยความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับบริษัทอัคราเดียนครั้งนี้มีกรอบ การทำงานร่วมกันทางด้านวิจัยและพัฒนาทำให้เกิดขึ้นจริง ในระยะเวลา 3 ปี โดยจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป  ซึ่งมุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นโมเดลต้นแบบในการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับหน่วยงาน องค์กรและสถานศึกษาต่าง รวมถึงภาคประชาชน สามารถเข้ามาเรียนรู้และนำไปปรับใช้เพื่อให้มีโอกาสได้ใช้พลังงานสะอาดอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น พร้อมเชิญชวนให้ภาคเอกชน เข้ามาศึกษาและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฯเพื่อพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนประเทศด้านการลดก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด

สำหรับการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ บริษัท อัคราเดียน จำกัด ตกลงร่วมมือกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านพลังงานไฟฟ้า โดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้า และสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065  นอกจากนี้ยังมีมุ่งพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ และบุคลากรด้านพลังงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีพลังงาน โดยเน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน และเพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงานไปประยุกต์ใช้จริง ทั้งในเชิงนโยบายสาธารณประโยชน์ และเชิงพาณิชย์ ตลอดจนส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

More From Author

GIT เตรียมจัด “งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับครั้งที่ 8 (GIT 2025)” ในธีม Responsible Gem & Jewelry Supply Chain ณโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณกรุงเทพฯ 8-9 ก.ย. นี้

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก จัดทอดผ้าป่า “ช่วยน้องให้ปลอดภัย” วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2568 เวลา 10.00-12.30 น. ณ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

สยาม ทาคาชิมายะ เนรมิตพื้นที่จัดแสดงผลงานเซรามิกชั้นครูผสานศิลปะญี่ปุ่น-ไทยทในงาน “The Art Walk Exhibition by Tomoko Konno x Thai Artists” วันนี้  – 31 กรกฎาคม 2568 ณ Event Space ชั้น 4 สยาม ทาคาชิมายะ ณ ไอคอนสยาม

ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป คว้า 4 รางวัลระดับนานาชาติจากเวที “EXA: Employee Experience Awards 2025 Thailand” ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาบุคลากรและความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบริการ

เมื่อความหลากหลายคือความงดงามของสังคมซีเจมอร์ (CJ MORE) ชวนสัมผัส

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *