
กรุงเทพฯ, 22 ก.ค. 68 : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT แถลงข่าวเตรียมจัด “งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 8 (GIT 2025)”ในธีม : Responsible Gem & Jewelry Supply Chain ตอกย้ำบทบาทของประเทศไทย ในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการชั้นนำในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับของภูมิภาค พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้นำความคิดจากทั่วโลก ร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ อัปเดตแนวโน้ม นวัตกรรม และงานวิจัยล้ำสมัย รวมถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาจากทั่วโลก หวังประเทศไทยเป็นผู้นำทางความคิดและนวัตกรรมในชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับระดับโลกณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 8 – 9 กันยายน 2568

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT มีกำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 8 (GIT 2025) ขึ้นระหว่างวันที่ 8 ถึง 9 กันยายน 2568 เพื่อตอกย้ำบทบาทของประเทศไทย ในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการชั้นนำในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับของภูมิภาค เพื่อเปิดเวทีการประชุมที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก นักวิชาการ นักวิจัย นักออกแบบ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทั่วโลก มาร่วมแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้ นำเสนอผลงานทางวิชาการ และอภิปรายเกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยในการจัดงานในครั้งนี้มุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและความยั่งยืน ซึ่งมีผู้ตอบรับเข้าร่วมทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สถาบันการศึกษา และองค์กรในอุตสาหกรรม เช่น สมาคมช่างทองไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงิน สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี สมาคมค้าทองคำ และสถาบัน Gemological Institute of America”

งานประชุมครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับมาตรฐานของภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติที่เข้มแข็ง ที่ไม่เพียงแสดงถึงขีดความสามารถทางวิชาการและความเป็นผู้นำของสถาบันในระดับโลกเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรม โดยจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดหาอย่างรับผิดชอบ การออกแบบเชิงนวัตกรรม และรูปแบบธุรกิจที่มีจริยธรรม รวมถึงมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะ“ศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก” อีกด้วย

ทั้งนี้ GIT ได้จัดงานประชุมอัญมณีและเครื่องประดับอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ทุกครั้งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งและประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยงานประชุมที่ผ่านมาไม่เพียงแต่เป็นเวทีทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีสำหรับสร้างเครือข่ายระหว่างเพื่อนร่วมวงการ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม นับเป็นโอกาสในการพบปะกับพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงร่วมกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่งในอนาคต

งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 8 (GIT 2025) จะต้อนรับผู้ร่วมงานจากทั่วโลกภายใต้ธีม “ResponsibleGem & Jewelry Supply Chain” ระหว่างวันที่ 8 – 9 กันยายน 2568 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังจะได้รับโอกาสพิเศษเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 72 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 13 กันยายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย

สำหรับหัวข้อในการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่น่าสนใจ โดยวิทยากรระดับโลก มีดังนี้

วันที่ 8 กันยายน 2568
เวทีกลาง พบกับวิทยากรหลัก นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานผู้ก่อตั้งบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) หัวข้อ: Towards a Sustainable Future for the Thai Gem and Jewelry Industry, Mr. Wallace Chan นักรังสรรค์จิวเวลรี่ระดับโลกชาวจีน หัวข้อ: Future Trends: Sustainability in Jewelry Art 2025, ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หัวข้อ: Transforming Thailand’s Gem and Jewelry Industry through Research and Innovation, Mrs. Ashoo Sinchawlaกรรมการผู้จัดการ บริษัท สันต์ เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด หัวข้อ: The Role of Women in the Gem and Jewelry Industry.
พบกับวิทยากรรับเชิญ Mr.Kinjal Shah ตัวแทนจาก Responsible Jewellery Council (RJC), ม.ล.ปรมาภรณ์ เทวกุล ตัวแทนจาก Precious Metal Refining Company Limited Mr. Wasantha Gamlath ตัวแทนจาก Gem and Jewellery Research and Training Institute (GJRTI), Mr. Tobias Häger ตัวแทนจาก Johannes Gutenberg University, ดร.พรสวาท วัฒนกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีและเครื่องประดับ, นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณตัวแทนจาก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน), Ms. Song Zhonghua ตัวแทนจาก National Gems & Jewelry Testing Group (NGTC), China, ดร.วสุรา สุนทรตันติกุล ตัวแทนจาก สถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งอเมริกา (GIA)

วันที่ 9 กันยายน 2568
เวทีกลาง พบกับวิทยากรหลัก Mr. Edward Johnson ตัวแทนจากGemfields Group หัวข้อ: Building a Responsible Coloured Gemstone Supply Chain, Mr. Kenneth Scarratt ตัวแทนจาก CIBJO Academy หัวข้อ: Transparency is not an option, it is a necessity, Mr. Richard W. Hughes ตัวแทนจาก Lotus Gemology หัวข้อ: Describing Color in Gems: A Fool’s Guide
พบกับวิทยากรรับเชิญ Mr. Daniel Nyfeler Ph.D กรรมการผู้จัดการ Gübelin Gem Lab, Ms. Anna Minakova ตัวแทนจาก Eurus Gallery, และพบกันผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมายมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ได้แก่ Mr. Vincent Pardieu ผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณี นายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) Dr.Liu Shang I, Edward ตัวแทนจาก The Gemmological Association of Hong Kong: GAHK และปิดท้ายโดย
Prof.Yan Li ตัวแทน Wuhan University ประเทศจีน

พลาดไม่ได้กับ “งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 8 (GIT 2025)” ในธีม : Responsible Gem & Jewelry Supply Chain ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 8 – 9 กันยายน 2568