“สุดาวรรณ” รมว.อว. ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 5,000 ต้น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2568 ดันงานวิจัยกล้าไม้เชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา สร้างอาชีพ สร้างรายได้สู่ชุมชน

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหา วชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2568 โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ ประธานมูลนิธิผืนป่าในใจเรา กล่าวรายงาน  ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. และประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวภารกิจของกระทรวง อว. เกี่ยวกับการดูแลรักษาป่าไม้ และมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโคราช และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ นายนิกร โสมกลาง นายอาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล นายอภิชา เลิศพชรกมล นายนรเสฎฐ์  ศิริโรจนกุล และนายรชตะ  ด่านกุล ตลอดจนประชาชน เข้าร่วม ณ พื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ บ้านหนองนกเขียน หมู่ที่ 10  ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวว่า การปลูกป่าครั้งนี้ เป็นการใช้กล้าไม้ผสมเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา ซึ่งเกาะอยู่ที่รากกล้าไม้ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตขึ้นจะมีเห็ดกินได้เจริญเติบโตออกมาจากรากกล้าไม้ ได้แก่ เห็ดตะไคล เห็ดระโงก และเห็ดตับเต่า ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัยที่นักวิจัยของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้มายังหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ นครราชสีมา และศูนย์วนวัฒนวิจัยที่ 6 (นครราชสีมา) กรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งมูลนิธิผืนป่าในใจเรา เป็นตัวอย่างของการบูรณาการที่นำเอาผลการวิจัยมาต่อยอดให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัย ไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช 1 ใน 3 มรดกโลก ของจังหวัดนครราชสีมา 

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวต่อว่า ขอขอบคุณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ศูนย์วนวัฒนวิจัยที่ 6 (นครราชสีมา) และสถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว ที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยนี้ และได้นำไปขยายผลสู่การอบรม การผลิตกล้าไม้และเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาในระดับชุมชน ถือเป็นการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่การใช้จริงที่สามารถผลิตได้ด้วยอุปกรณ์ในครัวเรือน และเกิดประโยชน์ทั้งด้านอาชีพ รายได้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการฟื้นฟูระบบนิเวศ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือกันอย่างดียิ่ง ที่ให้เกิดความร่วมมือกันอย่างแข็งขันจนงานวันนี้สำเร็จไปด้วยดี การดำเนินงานในครั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนและประสานงานจากหลายภาคส่วน และต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งที่มูลนิธิผืนป่าในใจเรา ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพขององค์ความรู้ดังกล่าว และร่วมมือในการจัดอบรมให้กับเยาวชนและประชาชนกว่า 70 คน รวมถึงการขยายผลสู่กิจกรรมปลูกป่าในวันนี้ ด้วยกล้าไม้ที่ผสมเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา จำนวน 5,000 ต้น 

“นี่คือภาพสะท้อนของการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ที่กระทรวง อว. ให้ความสำคัญ โดยการนำงานวิจัยและนวัตกรรมมาสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ พร้อมกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว

ในการนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยนางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ คณะผู้บริหาร วช. และบุคลากร วช. ร่วมปลูกป่าด้วยกล้าไม้ผสมเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. อีกด้วย

More From Author

ททท. ภูมิภาคภาคตะวันออก จับมือศิลปินไทยรุ่นใหม่ ดีไซน์อาร์ตทอยคอลเลกชันพิเศษ “Eastern Secrets” ชวนท่องเที่ยวภาคตะวันออก เปิดตัวในงาน Thai Art Toy Fest : สยามเด็กเล่น @Siam Center ตอน “Eastern Secrets : ตามหา (ความลับ) ภาคตะวันออก” 26-27 กรกฎาคม 2568 ณ Atrium 2 Siam Center

“พูลพิพัฒน์” ภายใต้กลุ่มพูลผล เปิดตัวคลังสินค้า LCB 1 บนทำเลศักยภาพเสริมความแข็งแกร่งด้านการกระจายสินค้าไทยสู่อนาคต

AGRITECHNICA ASIA 2026 เปิดตัวธีมหลักของงานพร้อมขยายเวทีนวัตกรรมสู่เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“พูลพิพัฒน์” ภายใต้กลุ่มพูลผล เปิดตัวคลังสินค้า LCB 1 บนทำเลศักยภาพเสริมความแข็งแกร่งด้านการกระจายสินค้าไทยสู่อนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *