วันที่ 30 เมษายน 2567 นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายการจัดทำหลักสูตรและคู่มือการแนะแนวและการให้คำปรึกษา การพัฒนาทักษะและสมรรถนะครู สกร. ด้านการแนะแนว (Coaching) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในสังกัด สกร. ให้มีทักษะ ความรู้ด้านการแนะแนวและให้คำปรึกษา รวมทั้งการจัดทำระบบแนะแนวการเรียน(Coaching) และการประกอบอาชีพ โดยมี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยาและการแนะแนวจากภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พญ.ศุทรา เอื้ออภิสิทธิวงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรมสาขาจิตเวช จากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์  ผู้บริหารหน่วยงาน สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ข้าราชการครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรม ไมด้า งามวงศ์วาน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

นายธนากร ดอนเหนือ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนแนวทางการจัดการศึกษาตามนโยบายเรียนดี มีความสุขของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ) เพื่อลดภาระผู้เรียนและผู้ปกครอง ว่าด้วยการจัดและส่งเสริมให้มีระบบการแนะแนว (Coaching) และเป้าหมายชีวิต และสอดคล้องกับ ...ส่งเสริมการเรียนรู้ .. 2566 ตามมาตราที่ 9 ที่กำหนดให้มีระบบแนะแนวการเรียนและการประกอบอาชีพ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทุกระดับให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของผู้เรียน และการที่ผู้เรียนรู้จักตนเองค้นพบแนวทางการเรียน และเป้าหมายชีวิตที่ตนเองชอบนั้น การแนะแนวการศึกษาและอาชีพนับเป็นพื้นฐานสําคัญของชีวิต เพราะความสําเร็จของบุคคล เกิดขึ้นจากการวางแผนชีวิตที่ดี การประสบความสําเร็จในการประกอบอาชีพและการดําเนินชีวิต จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ทําให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า สามารถรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพ เกิดหลักการในการดําเนินชีวิตรู้จักตั้งเป้าหมายของตนเอง สามารถปรับตัวเขากับสภาวะแวดล้อมได้ มีชีวิตอย่างเป็นสุขในสิ่งที่ตนและสังคมปรารถนา และฝากถึงครู สกร.ในพื้นที่ต้องติดตามและเข้าถึงชุมชน ที่เป็นมากกว่าการเยี่ยมบ้าน แบบเยี่ยมชุมชนร้อยเปอร์เซนต์ เพื่อใกล้ชิดปัญหาและสร้างความไว้วางใจ โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลประวัติผู้เรียน นำมาสู่ในการวางแผนการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมายของผู้เรียน ตามความถนัดและความสนใจไปจนถึงการประกอบอาชีพต่อไป

นางสาวเอื้อมพร  ศรีภูวงศ์  กล่าวเพิ่มเติมว่าจากข้อมูลระบบสารสนเทศ สกร. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 – 2566 เป็นต้นมา ผู้เรียนในสังกัด สกร.หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน .. 2551 เมื่อจำแนกตามอายุ ในภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีช่วงอายุน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยอายุผู้เรียนเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 15-19 ปี มากที่สุด จำนวน 1,585,630 คน  คิดเป็นร้อยละ 35  ในขณะที่ช่วงอายุ 25-29 ปี คิดเป็นร้อยละ 10 มีเพียง 477,787 คน  และอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 134,148 คน จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าอะไรคือ ปัจจัยที่ทำให้ผู้เรียน สกร.มีช่วงวัยที่อายุน้อยลง และเป็นวัยรุ่นมากกว่าวัยผู้ใหญ่หรือวัยแรงงานมากกว่าร้อยละ 65 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างชัดเจน ที่สำคัญสิ่งที่ต้องทบทวนว่านอกเหนือจากผู้เรียนที่พลาดและขาดโอกาสทางการศึกษาในชีวิตแล้ว เหตุและปัจจัยอะไรทำไมผู้เรียนในช่วงวัยนี้จึงหลุดออกจากห้องเรียนในระบบมากขึ้น  ชีวิตในสังคมปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงและความผันผวนมากมายที่เกี่ยวกับวัตถุและจิตใจ 

การแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทและมีความจำเป็นมากในสังคม เพราะช่วยให้บุคคลที่ได้รับบริการสามารถเข้าใจตนเองและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในชีวิตได้ตามความต้องการ และความถนัดตามความสามารถของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางการเรียนและอาชีพที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญระหว่างการเรียนกับเป้าหมายในอนาคต การแนะแนวจึงไม่เพียงช่วยในเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังช่วยในการพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ 

พญ.ศุทรา เอื้ออภิสิทธิวงศ์ กล่าวว่า การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคมสำหรับผู้เรียน ในการดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในปัจจุบัน  และยิ่งผู้เรียน สกร.ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น ครูยิ่งต้องชี้แนะให้เห็นถึงประโยชน์ของการเผชิญหน้ากับปัญหาและการเพิ่มทักษะต่าง ๆ ที่จะช่วยในการแก้ปัญหา เช่น การวิเคราะห์เหตุและผลที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น การมองในหลากหลายมุมมองที่จะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นข้อดีของเรื่องราวต่างๆ การมีสติที่จะช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ เข้าใจในปัญหาและอารมณ์ที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ครูอาจจะต้องเป็น Safe Zone หรือพื้นที่ปลอดภัย สำหรับเขาได้ด้วย ช่วยแบ่งปันทางด้านอารมณ์ เช่น การรับฟัง การให้กำลังใจ การให้แนวทาง การให้คำปรึกษา ที่จะช่วยลดความเครียดหรืออารมณ์ทางลบต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ครูและครอบครัวต้องส่งเสริมความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้เรียน โดยเฉพาะเรื่องของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เป็นเรื่องสำคัญสำหรับสังคมและครอบครัว  ต้องให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและจากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นจากสัมพันธภาพนี้ ผู้เรียนจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งการเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำผู้เรียนไปสู่การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง ให้มีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า สามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ และในทางกลับกันแต่ถ้าผู้เรียนที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

By admin

สนใจโฆษณาติดต่อ คุณจันทร์แรม โทร 0917233792

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวเด่น