เปิดมุมมองความคิดเข้าใจทิศทางการพัฒนาของจีน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ผ่านประสบการณ์เรียนหลักสูตรจีนศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมสร้างบุคลากรรองรับความสัมพันธ์ไทยจีน เชื่อมโยงเศรษฐกิจสองประเทศสู่ตลาดโลก

ปัจจุบันจีนได้ก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด โดยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยสัดส่วน GDP ประมาณ 19% ไล่จี้อันดับหนึ่งอย่างสหรัฐอเมริกามาติด ๆ ซึ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนนั้น นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 30 ปี โดยมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 10 ต่อปีมาโดยตลอด ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจจีนนั้นส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศไทยด้วย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย วิทยาลัยสหวิทยาการ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเอกจีนศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจในสภาพสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ แนวคิด การเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจของจีน เพื่อเข้าใจในบทบาทของจีนต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย

นางสาวอรอนงค์ วงค์จันทร์ หนึ่งในนักศึกษาสาขาวิชาจีนศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เข้าร่วม โครงการจีนศึกษาใหม่ (China Studies Program – CSP)” ภายใต้หลักสูตร สังคมจีนร่วมสมัย ที่ดำเนินการโดย ศาสตราจารย์ตง หงจี้ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงเดือนธันวาคม ได้เปิดเผยถึงประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรดังกล่าวว่า ทำให้เธอมีมุมมองความคิด ความเข้าใจ ต่อประเทศจีนและบทบาทของประเทศจีนในระบบเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น และทำให้สามารถใช้มุมมองที่เปิดกว้างนั้นมาประกอบการคิดเชิงวิพากษ์ และสร้างบทบาทการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไทย-จีนได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นด้วย

ประสบการณ์นี้ไม่เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางทางวิชาการของดิฉันเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ทำความเข้าใจและชื่นชมกับวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดีของไทยอีกด้วย โดยเนื้อหาของหลักสูตรนี้มีทั้งความกว้างและลึก คือครอบคลุมทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ระบบการเมือง โครงสร้างประชากร และความหลากหลายทางภาษาของจีน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานและกว้างใหญ่อย่างจีนได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นนางสาวอรอนงค์ วงค์จันทร์ กล่าว

หลักสูตรการเรียนดังกล่าวได้นำเสนอเนื้อหาเฉพาะเกี่ยวกับ “ระบบการขนส่งที่ใช้ร่วมกัน” “เศรษฐกิจที่เกิดจากการไลฟ์สตรีมมิ่ง” และ “อุตสาหกรรมพลังงานใหม่” ของจีน ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ความรู้ใหม่ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของจีนร่วมสมัยที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และยังครอบคลุมถึงการพัฒนาการศึกษา ระบบการเงิน การผลิตและการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ ระบบขนส่งสมัยใหม่ และบทบาทของจีนในวงการทูตระหว่างประเทศด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เห็นมุมมองจีนใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจีน วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชาติจีน ซึ่งจะเชื่อมโยงสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย

การเรียนรู้ในสาขาวิชาจีนศึกษา นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้านการศึกษาสำหรับคนยุคใหม่โดยเฉพาะเมื่อจีนคือหนึ่งในมหาอำนาจของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ มองเห็นทิศทางและโอกาส รวมถึงการเตรียมตัวตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อไป

By admin

สนใจโฆษณาติดต่อ คุณจันทร์แรม โทร 0917233792

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวเด่น