วันที่ 27 มี.ค.65 ที่ จ.ปราจีนบุรี ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามผลการดำเนินงานโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” และ กศน.ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการฯ ของในแต่ละจังหวัด เพื่อรับฟังสถิติการดำเนินโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” ซึ่งสามารถค้นหา นักเรียน นักศึกษา จากทุกสังกัดได้จำนวน 350 คน จำแนกเป็น สพฐ. 171 คน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 131 คน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 21 คน และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 27 คน

ทั้งนี้เมื่อจำแนกสาเหตุการหลุดออกจากระบบ จะพบว่าเกิดจากหลากหลายมิติ เช่น การคมนาคมไม่สะดวก สุขอนามัย ความพิการ ความจำเป็นทางครอบครัว สภาพของครอบครัว จบการศึกษาภาคบังคับและไม่ประสงค์จะเข้าเรียนต่อ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อายุพ้นเกณฑ์และไม่เรียนต่อ เข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัดอื่น เรียนต่อต่างประเทศ เสียชีวิต เป็นต้นซึ่งถือเป็นขอมูลที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง

นโยบายของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ภายใต้การนำของ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.และนโยบาย “กศน. WOW (6G)” ของ”ครูโอ๊ะ”ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเริ่มจาก Good Teacher ที่พวกเราเป็นกันอยู่ครอบคลุมในทุกมิติ เพราะเราเป็นครูพันธุ์พิเศษ สามารถปรับตัว และนำมาประยุกต์ใช้ในทุกๆงานที่ได้รับการมอบหมายและนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ Good Innovation การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย Good Partnership เป็นงานเครือข่ายที่เราทำกันอยู่มีการสร้างเครือข่ายหลากหลายมิติ Good Place เป็นสิ่งต่างๆที่พวกเราทำตลอด Good Activities ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และ Good Learning ที่เราทำร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง

ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เราต้องขับเคลื่อนและปรับตัว แต่เราชาว กศน.ก็สามารถทำได้ กระทั่งมาถึงโครงการ พาน้องกลับมาเรียน โครงการนี้ต้องเกิดขึ้น เพราะพบว่า มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาเป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กออกจากระบบการศึกษาอยู่ในระบบ สพฐ.ไม่ได้ จึงต้องมาเรียนกับ กศน. ซึ่ง กศน.ก็พร้อมรับ โดยครู กศน.จะใช้หลักจิตวิทยาและหัวใจ มาจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้พิการ ผ่านการ ปักหมุด กศน. ซึ่งจะให้การดูแลผู้พิการ ที่ถือเป็นกลุ่มที่เปราะบางต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยให้ดูแลครอบคลุมถึงการดูแลครอบครัว จัดการเรียนการสอนตามความต้องการ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงให้กับผู้พิการและครอบครัว

กศน.ถือเป็นครูพันธุ์พิเศษ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมในทุกมิติ รวมไปถึงเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งมีการจัดกิจกรรม กศน.ป้องกันภาวะซึมเศร้าคงสมรรถนะทางกาย จิต และสมอง ของผู้สูงอายุ โดย กศน.บึงกาฬ เข้าร่วมอบรมรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการบูรณาการการทำงานได้เป็นอย่างดี

“ครูโอ๊ะ” ขอฝากให้ กศน.นำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย “ฉันทะ” รักในหน้าที่ ศรัทธาในความเป็นครูเป็นคน กศน. “วิริยะ” พากเพียรกับสิ่งที่ทำ ทำด้วยใจรัก ค้นหาสิ่งที่จะนำสู่ความสำเร็จ “จิตตะ” ทำด้วยจิตอันมุ่งมั่น และ”วิมังสา” รอบคอบแก้ไข ซึ่งหลักอิทธิบาท 4 เหนือกว่าหลัก PDCA คือมีการสอนให้นำไปประยุกต์ใช้ ใช้หลักอิทธิบาท 4 นำชีวิตเพื่อเริ่มต้นทุกวันด้วยสมาธิ ใช้สมาธิเพื่อก่อเกิดสติและปัญญา ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อเรียกร้อง สามารถเข้าไปฝากเรื่องได้ที่ เฟสบุ๊ก “พี่โอ๊ะ ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์- เพจ “เพราะครูโอ๊ะใส่ใจในทุกมิติ เพราะเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รักกันตลอดไป”

By admin

สนใจโฆษณาติดต่อ คุณจันทร์แรม โทร 0917233792

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวเด่น