นาทีนี้ประเด็นเร่งด่วนที่ไม่แพ้เรื่องปากท้องคนไทย คือ ปัญหามลพิษที่มาจากฝุ่น PM 2.5 ที่ประชาชนทุกภูมิภาคกำลังเผชิญหน้าและจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ชมรมลมวิเศษ ได้หยิบยกประเด็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพมาร่วมพูดคุยกันในงานเสวนา “สานฝันลมหายใจคนไทยไร้ฝุ่น PM 2.5” นำโดย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย นายกแพทยสมาคมพร้อมด้วย รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ประธานที่ปรึกษาชมรมลมวิเศษ และ สุพัตรา จิราธิวัฒน์ ในฐานะประธานชมรมลมวิเศษ โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธี เผยถึงตัวเลขผลกระทบของ PM 2.5 พร้อมรับฟังเสวนา “สานฝันลมหายใจคนไทยไร้ฝุ่น PM 2.5” นำโดย พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาในประเด็น “สานฝัน กทม. สู่การเป็นมหานครปลอดฝุ่น PM 2.5” ร่วมด้วย ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ พูดคุยในหัวข้อ “สุขภาพวิกฤตเมื่อมลพิษ PM 2.5 มาเยือน..ซ้ำแล้วซ้ำอีก” พร้อมด้วยการดีเบตครั้งสำคัญก่อนการเลือกตั้งกับหัวข้อ “นโยบายพรรคการเมือง เพื่อลมหายใจคนไทยไร้ฝุ่น PM 2.5” จาก 8 พรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ เพื่อไทย, ไทยสร้างไทย, ก้าวไกล, ชาติไทยพัฒนา, ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย, เสรีรวมไทย และ พลังประชารัฐ ซึ่งนับเป็นเวทีที่ประชาชนจะได้รับฟังวิสัยทัศน์และแนวทางการป้องกัน PM 2.5 อีกด้วย 

โดย นายเเพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวเปิดงานและเปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันภาวะฝุ่น PM 2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้น กว่า 54 จังหวัดของประเทศไทยมีค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศจนถึงปัจจุบันสูงกว่า 2,472,492 ราย นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิกฤตที่ประเทศไทยต้องรับมือไปควบคู่กับโรคโควิด 19 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทปลายน้ำของฝุ่น PM2.5 ที่ผู้ป่วยอาจประสบภาวะเจ็บป่วยหลากอาการตามภาวะ กระทรวงติดตามภาวะนี้ตลอดทั้งปี หากปริมาณฝุ่น PM2.5 ขึ้นมาในเเต่ละระดับก็จะมีมาตรการต่างๆ กำกับดูเเล อยากให้กระทรวงอื่นๆ ที่เป็นต้นน้ำที่จะบูรณาการอากาศที่ดีให้คนไทยได้ในระยะยาว โดยเฉพาะภาคเหนือนั้น พบว่ามีประชาชนป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพองเเละมะเร็งปอดมากกว่าพื้นที่อื่นๆ หลายเท่า โดยผลวิจัยพบว่าฝุ่น PM 2.5 เป็นส่วนหนึ่งของโรคนี้ ตรงนี้จะได้ร่วมกันคิดเเละสานฝันว่าคนไทยจะหายใจไร้ฝุ่นได้อย่างไร

นายเเพทย์สุขุม กาญจนพิมาย นายกเเพทยสมาคมฯ กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ก่อให้เกิดปัญหากับโรคระบบทางเดินหายใจของคนไทยจำนวนมาก วันนี้นโยบายว่าที่รัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้น พรรคต่างๆ จะวางนโยบายเเก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไรนั้นต้องติดตามจากวิสัยทัศน์ที่ตัวเเทนพรรคต่างๆ จะเเสดงมุมมองในการวางมาตรการเเก้ไขฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้เเละอนาคต

ขณะที่ นางสุพัตรา จิราธิวัฒน์ ประธานชมรมลมวิเศษกล่าวว่า ชมรมฯ มีภารกิจรณรงค์เเละประชาสัมพันธ์การป้องกันการเกิดปัญหาของประชนที่อาจป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ปัจจัยหนึ่งที่รุนเเรงจนวิกฤตคือ ฝุ่น PM 2.5 ทั่วประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือ หากฝุ่น PM2.5 สะสมในร่างกายมากๆ จะเกิดปัญหาหลายโรค รวมทั้งกระทบมิติอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้นต้องป้องกันดูเเลสุขภาพของคนในครอบครัว ทางชมรมฯ เห็นว่าฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายเเก้ไขอย่างจริงจังในวาระนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามในวันข้างหน้า

นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า “ปัญหาฝุ่นใน กทม. คือ ความเหลื่อมล้ำ” ที่ผ่านมา กทม. ตั้งทีมนักสืบฝุ่นวิจัยจนพบว่า PM 2.5 มาจากรถยนต์, การพัดของลมตามฤดูกาล,การเผาวัชพืช ตอนนี้ กทม. ได้เฝ้าระวังร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ตามจุดฮอตสปอต เเละ เเจ้งเตือนผ่านระบบเเอพลิเคชั่น เพื่อเเจ้งสถานการณ์เชิงรุกให้ประชาชน, การกำจัดต้นตอ เช่น ยานยนต์ที่สัญจร สถานประกอบการ การเเก้ไขการเผาวัชพืชในเเปลงเกษตรกรรม, การป้องกันสุขภาพ โรงพยาบาลของ กทม. เเละ ศูนย์อนามัย กทม. หลายเเห่งทำหน้าที่คลินิกฝุ่นเเละห้องปลอดฝุ่น รวมทั้งรณรงค์วัดกับศาลเจ้าให้ใช้ธูปลดลง ตอนนี้มีวาระเเห่งชาติเพื่อเเก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่ทุกฝ่ายต้องร่วมดำเนินการ โดย กทม. ได้จัดทำไปเเล้วหลายส่วน จึงฝากพรรคต่างๆ หากได้เป็นรัฐบาลช่วยดำเนินการด้วย

จากนั้นมีการเสวนานโยบายพรรคการเมืองเพื่อลมหายใจคนไทยไร้ฝุ่น PM 2.5 โดยมีตัวเเทนพรรคการเมืองเข้าร่วมเสวนาเเละตอบคำถาม ในประเด็นนโยบายพรรคด้านสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม

นางสาวภาดาท์ วรกานนท์ ตัวเเทนพรรคภูมิใจไทยเเละผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตพญาไทดินเเดง พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าการเเก้ไขปัญหา PM 2.5 นั้นพรรคได้วางนโยบายด้านพลังงานสะอาด เช่น รถเมล์ไฟฟ้าเเละมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อที่จะลดภาวะเรือนกระจกห้าเเสนตัน/ปี การติดตั้งหลังคาโซลาร์รูฟทอปเพื่อลดค่าใข้จ่ายให้ประชาชน ส่วนเรื่องการเผาป่าในภาคเหนือที่ประชาชนรับผลกระทบมากสุดในประเทศเพราะป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดเเละระบบทางเดินหายใจ ตนพบว่า รัฐบาลมีนโยบายห้ามเผาพืชเเละวัขพืชทางการเกษตรในช่วงหกสิบวัน เเต่ความจริงมีการลักลอยเผาก่อนการห้ามเผา เพราะบางคนเผาป่าหาเห็ด บางคนเผาเพื่อปลูกปรับพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว 

               “หากใครได้ไป จ.เชียงใหม่ ที่ ดอยม่อนเเจ่ม เเละ เเม่กำปอง จะพบว่าเเทบไม่มีการเผาเพราะประชาชนมีรายได้จากท่องเที่ยวเเละป่าชุมชน ดั้งนั้นควรเรียนรู้จากพื้นที่เเละเชื่อว่าทุกคนเรียนรู้มาตรการเเก้ปัญหาทั้งหมด เเต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเเละรัฐบาลจริงจังเกี่ยวกับการปัญหาหรือไม่ เช่น ร่างกฎหมายอากาศสะอาดที่ตนเป็นคนหนึ่งที่ผลักดันโดนปัดตกห้าครั้งในการประชุมสภาผู้เเทนฯ ชุดที่เเล้ว เพราะที่ประชุมมองว่าเป็นร่างกฎหมายการเงิน ตนมองว่า หากตั้งใจเเก้ไขวาระนี้ก็ทำได้เเเต่ไม่ทำ เช่น ไม่กี่ปีก่อน มีการรณรงค์ไม่ใช้ถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อก็ได้รับความร่วมมือจากสังคม”

นางสาวภาดาท์ กล่าวเสริมว่า “ส่วนการเผาเเละฝุ่นควันจากเพื่อนบ้าน เราต้องยกให้เป็นการเเก้ปัญหาในระดับอาเซียนเพราะระดับทวิภาคีนั้น เเก้ไม่จบ เราต้องทำเรื่องนี้เพื่อให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องร่วมกันเเก้ไข เเละคนไทยต้องทำได้ ขอให้เชื่อว่านโยบายพรรคเเก้ไขได้เเน่นอน”

ส่วนทางด้าน นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประกาศสงครามกับ PM 2.5 ที่ทุกคนต้องช่วยกันด้วยการผลักดันร่างกฎหมายอากาศสะอาดที่จะดำเนินการระยะสั้น กลาง ยาว โดยนำโมเดลจากต่างประเทศมาปรับใช้ เพราะตอนนี้ กทม. ติดอันดับสิบของโลกที่มีปัญหาฝุ่นควัน 

นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ระบบสาธารณสุขในตอนนี้ขาดบุคลากรเเละงบประมาณ พรรคมีเเนวทางพัฒนาโดยใช้งบประมาณหกเเสนล้าทบาทที่่ไม่จำเป็นจากโครงการอื่นๆ มาใช้ เเละ ชูนโยบายซีโร่เเทรชในการเเก้ปัญหาขยะเเละสิ่งเเวดล้อมส่วน ปัญหาของ PM 2.5 นั้นเกิดในพื้นที่ในเมือง, นอกเมือง, เพื่อนบ้าน คือ ไอเสียเครื่อยนต์ การเผาวัชพืช เเละ ไฟป่า ต้องยอมรับว่า PM 2.5 ร้อยละเจ็ดสิบเกิดจากการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านในไร่ข้าวโพด จากคอนเเท็กฟาร์มมิ่งของเอกชนไทยที่ไปปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะไม่มีภาษีนำเข้า จุดนี้ต้องเเก้กฎหมายบังคับเอกชนไทยในการปลูกพืชในพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อไม่สร้างมลภาวะ

นายกนก วงษ์ตระหง่าน ตัวเเทนพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า PM 2.5 เกิดจากความเหลื่อมล้ำ คนที่เผาวัชพืชเพราะยากจนเมื่อเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรเสร็จเเล้วจึงเผาเพราะไม่มีเงินในการทำลายด้วยวิธีอื่น หากเกษตรกรได้ประโยชน์มากกว่าการไม่เผา PM2.5 จะยุติ 

ตอนนี้เราใช้ระบบดาวเทียมจับจุดฮอตสปอต จุดใดเผาบ่อย ควรให้หน่วยงานต่างๆ เข้าไปทำความเข้าใจเเละหาวิธีเเก้ไข สร้างเเรงจูงใจกับประชาชนว่า ไม่เผาเเล้วจะได้งบอุดหนุนครอบครัวละสองหมื่นบาท  ส่งเสริมความรู้การปลูกพืชผสมผสานที่สร้างรายได้หนึ่งหมื่นบาท/เดือน ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้ชัด เคุยกับเอกชนของไทยที่ไปลงทุนในพื้นที่ของเพื่อนบ้าน โดยใช้กฎหมายเเละมาตรการภาษีมาดำเนินการ

ที่ผ่านมาพบว่ามีการพัฒนาเเบบไม่ยั่งยืนเพราะต้องการได้เงินเร็วจึงโยนปัญหาไปอนาคต หากจะลดการเผาในพื้นที่โล่งเเจ้งนั้นพบว่า พื้นที่กว่าหนึ่งล้านห้าเเสนไร่ในประเทศเกิดการเผาเป็นประจำ ต้องเเก้ไขจุดนี้ตามที่ตนระบุ เเละกระตุ้นข้าราชการว่าต้องดำเนินการตลอดปีไม่ใช่ทำงานตามฤดูกาล เเละกำหนดค่าการใช้พลังงาน ที่มีค่ามาตรฐานการป้องกันการก่อให้เกิด PM 2.5 จากทุกหน่วยงาน”

By admin

สนใจโฆษณาติดต่อ คุณจันทร์แรม โทร 0917233792

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ข่าวเด่น